วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การตั้งวาล์วรถยนต์ HONDA 4 สูบ

วาล์วคือ ชิ้นส่วนที่ทำงานโดย เปิด-ปิดให้อากาศเข้าและออกในกระบอกสูบ ตามจังหวะที่กำหนด
  
   ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
   
   
   1- วาล์วไอดี
  
   
   2- วาล์วไอเสีย
   
   
   การเปิด-ปิดของวาล์วเป็นไปตามจังหวะการทำงานของ เครื่องยนต์โดยทั่วไปมีกลวัตรดังนี้คือ
   
   
   ดูด คือ จังหวะที่วาล์วไอดีเปิดเอาอากาศดีเข้ากระบอกสูบ ลูกสูบเลื่อนลง
   
   
   อัด คือ จังหวะที่วาล์วไอดี และ ไอเสียปิดเพื่ออัดอากาศ และ เชื้อเพลิงให้พร้อมที่จะเผาไหม้ ลูกสูบเลื่อนขึ้น
   
   
   ระเบิด คือ จังหวะที่เกิดการสันดาปภายในกระบอกสูบและ มีแรงดันที่หัวลูกสูบทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ลูกสูบเลื่อนลง
   
   
   คาย คือ จังหวะที่วาล์วไอเสียเปิด เพื่อไล่อากาศเสียออกจากกระบอกสูบ ลูกสูบเลื่อนขึ้น
   
   
   เมื่อวาล์วยัน ในจังหวะระเบิด วาล์วจะปิดไม่สนิทเมื่อวาล์วปิดไม่สนิท กำลังอัดก็จะรั่ว
  
   ถ้าวาล์วยันแรงระเบิดในกระบอกสูบก็จะรั่ว แรงดันหัวลูกสูบก็ไม่มี
   
   
   ถ้าวาล์วไอดีรั่ว และ มีเชื้อเพลิงอยู่ในท่อไอดี ก็จะเกิดการระเบิดในท่อไอดีจนเกิดความเสียหาย ที่ทั่วไปเรียกกันว่าแบ๊คไฟร์
  
   
   ถ้าวาล์วไอเสียรั่ว เชื้อเพลิงบางส่วนไปเผาไหม้ต่อในท่อไอเสีย ทำให้แคตตาไลติคละลาย และ O2sensor เสียหาย
   
   
   อาการที่สังเกตได้ คือ
   
   
   - ไฟรูปเครื่องขึ้น ฟ้องว่า O2 sensor ผิดปกติ
  
   
   - เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
  
   
   - เบาดับ
  
   
   - เปิดแอร์รถติดเครื่องกระพรือ
  
   
   - เครื่องสั่น กระตุก สำลัก
  
   - สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากผิดปกติ
   
   
   เป็นทั้งขณะใช้น้ำมัน และ แก๊ส รอบเครื่องต่ำกว่าปกติ อาการเป็นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่ายันมากหรือยันน้อย
   
   
   กรณีที่มีอาการวาล์วยันมาก เปิดออกมาดูจะเห็นว่าลูกเบี้ยวสึกหรอผิดปกติด้วยครับ


   การตั้งวาล์วแบบช้าขณะเครื่องเย็น กำหนดไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส
  
   เนื่องจากมีความละเอียดแน่นอนของระยะห่างมากกว่า รวมถึงไม่ร้อนมือด้วยครับ
  
   
   
   
   รถตัวอย่างเป็น Honda civic FD 1.8
  
   
   
   
   เริ่มจากเปิดฝาครอบวาล์วออก จะเห็นกระเดื่องกดวาล์วของเครื่องยนต์ SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว หรือก็คือ
  
   เพลาลูกเบี้ยวราวเดี่ยววางอยู่ทางด้านบนเครื่องยนต์ 4 สูบ โดยใน 1 ลูกสูบ มีวาล์ไอดี 2 ตัว
  
   และ วาล์วไอเสีย 2 ตัว หรือ วาล์ว 4 ตัว ต่อ 1 สูบนั่นเอง
  
   
   
   
   ในรูปจะเห็นกระเดื่องกดวาล์ว 8 ตัว วาล์วที่เห็นเป็นวาล์วไอเสีย โดยไล่จากทางด้านซ้าย คู่แรกเป็นของ
  
   
   สูบที่ 1 คู่ต่อไปก็สูบที่ 2 คู่ถัดไป ก็สูบที่ 3 คู่สุดท้ายก็สูบที่ 4
   


   ในรูปจะเห็นว่ามีน๊อตเบอร์ 10 ไว้สำหรับคลายเพื่อปรับระยะห่าง ที่สกรูตัวหนอนที่อยู่ตรงกลาง
  
   โดยชุดปรับตั้งจะอยู่ที่ปลายด้านบนของกระเดืองกดวาล์ว และวาล์วจะอยู่ตรงกลางของสปริง
  
  
   โดยการทำงานของระบบวาล์ว วาล์วจะเปิดเมื่อเพลาลูกเบี้ยวมากดวาล์วและสปริงให้ยุบลงและ
  
   วาล์วจะปิดเองด้วยแรงของสปริงเมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนเลยไป ถ้าระยะห่างระหว่างกระเดื่องกดวาล์วและวาล์วไม่มี
  
   จะทำให้หน้าวาล์วกับบ่าวาล์วปิดไม่สนิท หรือก็คือที่เราเรียกกันว่าวาล์วยันนั่นเอง
  
   
   
   

   ด้านซ้ายเป็นชุดวาล์วทางด้านไอดี และ ทางด้านขวาเป็นชุดวาล์วทางด้านไอเสีย
  
   
  
  
   เราจะเริ่มตั้งวาล์วสูบที่ 1 ก่อน โดย เราต้องหมุนเครื่องยนต์ให้สูบที่ 1 อยู่ในจังหวะอัดสุดและในขณะเดียวกัน
  
   สูบที่ 4 อยู่ในจังหวะโอเวอร์แล็ป
  
   
   
  
   

   จากนั้นใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะห่างวาล์ว โดยสอดเข้าไปในช่องระหว่างกระเดื่องกดวาล์ว
  
   และ วาล์ว จากรูปวาล์วไอเสียสูบที่ 1 ชิดนิดหน่อยทำให้สอดฟิลเลอร์เกจไม่ได้
  
   แต่ยังมีระยะห่างอยู่บ้างไม่ถึงกับยัน จึงทำให้ต้องมีการปรับตั้งใหม่
  
   
   
   

   ปรับตั้งเสร็จก็เช็คระยะห่างอีกครั้ง
  
   
   
   


   แล้วก็ตรวจเช็คระยะของวาล์วไอเสีย
  
   สูบที่ 1 ตัวที่ 2
  
   
   
   

   แล้วก็ตรวจเช็คระยะของวาล์วทางด้านไอดีของ สูบที่ 1 ทั้ง 2 ตัว
  
   พบว่าเริ่มมีการทรุดของบ่าวาล์วนิดหน่อย ก็ทำการปรับตั้งใหม่
  
   
   
   

   แล้วเราก็หมุนเครื่องให้สูบที่ 3 อัดสุด สูบ 2 โอเวอร์แล็ป เพื่อตั้งวาล์วสูบที่ 3
  
   เมื่อตั้งเสร็จ ก็หมุนเครื่องอีกครั้งให้สูบ 4 อัดสุด สูบ 1 โอเวอร์แล็ปเพื่อตั้งวาล์วสูบที่ 4
  
   เมื่อตั้งเสร็จ ก็หมุนเครื่องอีกครั้งให้สูบ 2 อัดสุด สูบ 3 โอเวอร์แล็ปเพื่อตั้งวาล์วสูบที่ 2
  
   เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยครับ
  
   หมายเหตุ ระยะห่างของวาล์วและกระเดื่องกดวาล์ว จำเป็นต้องมีเพื่อให้มีระยะที่พอดีต่อการขยายตัวของวัสดุ
  
   เมื่ออยู่ในอุณหภูมิทำงานและ ต้องตรวจเช็คปรับตั้งด้วยฟิลเลอร์เกจ
  
   รูปนี้เป็นกลไกชุดล๊อคกระเดืองวาล์วองศาสูงของระบบ VTEC เมื่อมีน้ำมันมาดันลูกสูบ VTEC ให้ล๊อคครับ
  
   VTEC ทำหน้าที่เปลี่ยนจากลูกเบี้ยวองศาต่ำไปใช้ลูกเบี้ยวองศาสูง เมื่อรอบเครื่องยนต์สูงถึงตามที่ ECU รถยนต์โปรแกรมมาครับ
  
   ลูกเบี้ยวองศาต่ำ เปิดลิ้นแคบๆ เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังที่เหมาะสมขณะรอบต่ำ
  
   ลูกเบี้ยวองศาสูง เปิดลิ้นกว้างๆ เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังที่เหมาะสมขณะรอบสูงเพิ่มปริมาณอากาศ
  
   และ แก้ปัญหาการหน่วงการไหลของอากาศในท่อไอดี และ กรองอากาศ
  
   
   
  
   หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับทุกๆท่านที่มาอ่านศึกษาหาความรู้นะครับ

  




โดยประมาณ จะตั้งวาล์วกันกี่กิโลคับ

    
   กรณีการปรับตั้งวาล์วแบบสกรูกระเดื่อง เช่นของฮอนด้า มิตซูบิชิ ควรตรวจเช็คปรับตั้งทุกๆ 40,000 กิโลเมตร
  
   แต่ถ้าเป็นแบบชิม อย่างโตโยต้า นิสสัน ก็ประมาณ ทุกๆ 80,000 กิโลเมตรครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น